วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ 20:17 | 1 ความคิดเห็น  




"การตั้งเสียงกลองเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่างดังนี้" 
ความตึงของหนังกลองด้านบน(Batter Head)
ความตึงของหนังกลองด้านล่าง(Resonant Head)
ความสัมพันธ์ระหว่าความตึงของหนังด้านบนและด้านล่าง
ประเภทของหนังกลอง
ประเภทของตัวถังกลอง
การลดเสียงก้องจากหนังหรือตัวถัง
เมื่อคุณจูนเสียงกลอง คุณกำลังตั้งให้ได้เสียงที่มีระดับสูงสุดหรือต่ำสุด ให้ได้น้ำเสียงที่ใสหรือเสียงที่ทุ้มต่ำ

เพื่อให้เสียงดัง หรือเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวาลเกิดResonant ดังนั้นเพื่อให้เกิดเสียงที่มีคุณภาพ คุณต้องจัดการกับหนังทั้งสองด้านให้ดี
ความลึกของตัวถัง และเส้นผ่าศูนย์กลางจะมีผลต่อการจูนเสียง โดยความลึกให้เสียงที่นุ่มและการเกิด Resonant
รวมถึงความดังและความชัดเจนที่ดี ขณะที่ตัวถังบางให้เสียงที่สั้นและเกิดเสียงตอบสนองการตีได้เร็วกว่า
ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวถังมีผลต่อระดับเสียงคือยิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางที่ยาวย่อมให้เสียงที่ต่ำกว่า

"หนังกลอง"
กลองทุกชุดต้องมีหนังอย่างน้อย 1 ด้าน กลองที่มีหนังด้านเดียวจะให้เสียงที่แห้งๆ ลัษณะกระแทกๆ หนังส่วนที่เราตีเรียกว่าBatter
ส่วนที่ไม่ได้ตีเรียกว่า Resonant หรือเรียกว่าหนังด้านบนหรือด้านล่างก็ได้ หนังกลองเป็นแหล่งกำเนิดเสียงด่านแรกของกลอง
ดังนั้นการเลือกใช้ให้เหมาะสม และการจูนเสียงเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่นเดียวกันกับตัวถัง และโครงสร้างอื่นของกลอง มีผู้เชี่ยวชาญบางคนพูดว่า85%
ของเสียงกลองมาจากหนัง ดังนั้นการเลือกใช้ที่ผิดจะทำให้เสียงของกลองคุณไม่ประทับใจครับ
หนังกลองในปัจจุบันทำจากMylar ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ย้อนไปในอดีตหนังกลองส่วนใหญ่ทำจากหนังสัตว์เช่น ลูกวัว ช้าง แกะ
ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่ามีจุดอ่อนที่เสียงเพี้ยนง่ายเมื่อเจอความชื้นของอากาศ ทำให้ต้องมีการจูนเสียงบ่อยๆ
ขณะที่พลาสติก มีคุณสมบัติที่ทนทานกว่าและเสียงไม่เพี้ยน

บริษัทผู้ผลิตหนังกลองใหญ่ในปัจจุบันคือ "Remo", "Evans" ,"Ludwig"
โดยมีการผลิตหนังในประเภทและขนาดต่างๆกันสามารถจำแนกได้ดังนี้

"หนังชั้นเดียวอย่างบาง"
เป็นหนังที่มี Mylar ชั้นเดียว เป็นหนังที่บางที่สุด ตัวอย่างรุ่นเช่น Remo Diplomats
ซึ่งเราจะใช้ไว้เป็นหนังด้านล่าง เพื่อให้เกิด Resonant
"หนังชั้นเดียว"
เป็นหนังที่มี Mylar ชั้นเดียว ให้เสียงที่คมชัดเจน และให้เสียงที่สั่นออกมาดี แต่ไม่ค่อยทนทาน
ไม่เหมาะกับคนที่เล่นเพลงหนักๆ หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Ambassadors และEvans G1s
ซึ่งเป็นหนังยอดนิยมที่ใช้ในห้องอัดเสียงหรือการใช้ไมค์มิกซ์เสียง
"หนังสองชั้น"
เป็นหนังที่มี Mylar 2 ชั้น หนังที่หนาขึ้นทำให้เสียงที่เกิดมีลักษณะที่แห้งกว่า เสียงสั้นน้อยกว่า
แต่มีความคงทนเหมาะกับการเล่นเพลงแนวร๊อค หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Emperors และEvans G2s

"Muffled"
เป็นหนังที่เหมาะกับงานหนักที่สุด ให้ลักษณะเสียงที่สุขุมแต่ไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าไหร่อาจเป็นเพราะโครงสร้างภายในที่ถูกผลิตขึ้นมา
หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Pinstripes หรือEvans Genera HD
"ไฮดรอลิก"
เป็นหนังสองชั้นแต่มีชั้นน้ำมันอยู่ตรงกลาง ให้เสียงที่มีลักษณะอ้วนที่สุด มีความทนทาน ถ้าชอบเสียงแบบนี้ก็ต้องมองหา
Evans Hydraulic ซึ่งบริษัทนี้ค่อนข้างมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการผลิตหนังประเทภนี้
นอกจากนั้นหนังกลองยังมีประเภทเคลือบกับไม่เคลือบอีก หนังกลองเคลือบมีพื้นผิวที่หยาบกว่าช่วยลดเสียง Overtone
ให้น้อยลง ให้เสียงที่มนๆกว่าไม่เคลือบ หนังเคลือบเหมาะกับการเล่นด้วยแส้ ส่วนในใบอื่นๆเช่นทอม ที่ไม่ค่อยใช้แส้ตี
คุณอาจใช้หนังที่ไม่ต้องเคลือบก็ได้

เมื่อใดที่ต้องเปลี่ยนหนัง
ถ้าหนังกลองของคุณไม่สามารถจูนเสียงได้อีกแล้ว ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยน หรือที่เรียกว่าหนังมันตายแล้ว
และต้องเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน คำตอบคือมันขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้งานหนังกลองมากแค่ไหน และขึงหนังตึงแค่ไหน
ลองดูสัญญานที่บ่งบอกว่าถึงเวลานั้นแล้ว
-เมื่อส่วนที่เคลือบหนังไว้เริ่มหลุดออก
-เมื่อเกิดร่องลอยบนหนัง
-เมื่อหนังเมื่อถอดออกแล้วเกิดการบิดเบี้ยว
-เมื่อไม่สามารถจูนเสียงได้แล้ว โดยเฉพาะเสียงต่ำ
-เมื่อคุณตีแล้วเสียงไม่ค่อยออก
-เมื่อหนังเกิดหลุมจากการตี

ลองดูไกไลด์ตรงนี้ครับ ตารางนี้เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่ใช้งานหนัก กลองถูกตีวันละหลายชั่วโมง
ถ้าคุณเล่นวันละไม่มากวันละไม่กี่ชั่วโมง อาจยืดระยะเวลาออกไปจากนี้
* หนังสแนร์บน เปลี่ยนทุกเดือน
* หนังสแนร์ด้านล่าง เปลี่ยนทุกสามเดือน
* หนังกลองใหญ่ด้านที่ตี เปลี่ยนทุกสามถึงหกเดือน
* หนังกลองใหญ่ด้านหน้า เปลี่ยนปีละครั้ง
* หนังกลองทอมด้านบน เปลี่ยนทุกสามถึงหกเดือน
* หนังกลองทอมด้านล่าง เปลี่ยนปีละครั้ง

เมื่อต้องเปลี่ยนหนังกลอง คุณควรปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้ครับ
1.ถอดหนังอันเก่าออก
2.ทำความสะอาดภายในกลองด้านใน ด้วยการเช็ดฝุ่น และคราบเปื้อนต่างๆออก
3.ค่อยๆใส่หนังกลองอันใหม่ลง ให้แนบสนิทกับตัวถัง
4.ใส่กรอบครอบหนัง
5.ใส่น๊อตลงบนLug ใช้แค่มือหมุนก่อนนะครับ
6.ใช้กุญแจกลองค่อยขันน๊อตให้แน่น(วิธีการขันจะพูดในช่วงต่อไป)
7.ปรับหนังให้แน่นกระชับกับตัวถัง ระหว่างนี้อาจเกิดเสียงกร๊อบแก๊บ ซึ่งเป็นธรรมชาติของหนังที่ปรับตัวตามความตึงที่เพิ่มขึ้น
8.การจูนเสียงให้ถูกต้อง(จะพูดในช่วงต่อไป)





"การตั้งเสียงกลอง"
วิธีจูนเสียงกลองนั้นเหมือนกันในทุกๆใบ ไม่ว่าจะเป็นทอม สแนร์ หรือBass drum แต่สแนร์นั้นอาจมีวิธีจูนที่เป็นเอกภาพต่างหาก
จะพูดต่อไปในอนาคตต่างหากครับ หนังด้านบนมีไว้ถูกตีให้เกิดเสียงด้วยการสั่น
ขณะที่หนังด้านล่างช่วยให้เกิดการResonant เกิดเสียงOvertone
ดังนั้นหนังด้านล่างจึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่าด้านบนเช่นกัน ในขณะที่จูนเสียงคุณต้องใช้กุญแจปรับความตึงของหนัง
หนังยิ่งตึงยิ่งให้เสียงที่สูงขึ้น การขันน๊อตไม่ควรขันเรียงลำดับกันไป และไม่ควรขันให้แน่นในทีเดียว
ควรเริ่มจากตำแหน่งที่หนึ่ง แต่ไม่ใช้ขันไล่ไปทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกา แต่ตัวต่อไปต้องไขในตำแหน่งตรงกันข้ามกับตัวแรกด้วยแรงบิดที่เท่ากัน

แล้วทำด้วยวิธีเดียวกันไปเรื่อยๆกับน๊อตที่เหลืออยู่ จนกลับมาที่น๊อตตัวแรกค่อยขันให้แน่นขึ้น แล้วขันไปในแรงบิดที่เท่ากันจนครบทุกตัว
จากนั้นค่อยๆปรับหนังให้ตึงเท่าๆกัน ไม่มีตรงไหนหย่น ลองตีแล้วแล้วให้เสียงที่ต่ำๆเท่ากัน จากนั้นค่อยๆขันน๊อตขึ้นประมาณ1/4
รอบจนได้เสียงที่ถูกใจ ในส่วนหนังด้านล่างใช้วิธีการจูนเช่นเดียวกัน แต่จะต้องสัมพันธ์กับหนังด้านบน
ซึ่งอาจจูนให้ได้ระดับเสียงที่ เท่ากับ สูงกว่า หรือต่ำกว่าหนังด้านบนก็ได้ คุณต้องลองตั้งดูแล้วเลือกเสียงที่ชอบครับ
เมื่อจูนเสียงได้แล้ว ก็จูนใบอื่นๆอีกให้เข้ากัน โดยทั่วไปกลองใบเล็กจะให้เสียงที่สูงกว่าใบใหญ่
คุณต้องตั้งเสียงกลองให้มีระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งทอมแต่ละใบควรตั้งให้เสียงต่างกันเป็นคู่สามหรือคู่สี่ (คือเสียง โดกับมี หรือโดกับฟา)
ซึ่งคุณควรทราบว่าการตั้งเสียงกลองไม่มีถูกหรือผิด มือกลองแต่ละคนมีวิธีต่างกัน การตั้งเสียงกลองที่สูงไป เสียงกลองจะไม่เป็นธรรมชาติ
เสียงไม่ออก ตรงกันข้ามถ้าตั้งต่ำเกินไปเสียงจะหายไป ได้เสียงหย่อนๆยานๆ
คุณจำเป็นต้องจูนให้ได้ในตำแหน่งที่ไพเราะของกลองชุดนั้นด้วยหูของคุณเอง

"การลดเสียงก้องของกลอง"
เสียงกลองเกิดจากResonant ของตัวถังและหนัง มือกลองบางคนชอบให้กลองออกเสียงก้อง
ขณะที่บางคนไม่ชอบแต่ชอบเสียงแห้งๆ
ถ้าต้องการแก้ปัญหาเสียงก้องควรจัดการดังนี้
1.คลายน๊อตที่ขันหนังด้านบนลง 1/4-1/2 รอบ หรืออาจไปขันน๊อตหนังด้านล่างเพิ่มหรือลด
การทำทั้งสองแบบนั้นเพื่อให้หนังด้านล่างและบนมีระดับเสียงที่ต่างกัน
2.เปลี่ยนหนังครับ ถ้าคุณใช้หนังด้านอยู่เป็นชั้นเดียวอยู่ก็เปลี่ยนไปใช้หนังสองชั้น เช่น Remo Pinstripe
ถ้ายังไม่พอใจต้องการเสียงที่ก้องน้อยลงอีก ก็ไปใช้Evan Hydraulic หนังน้ำมันเลยครับ
และถ้าเสียงที่ได้ยังไม่น่าพอใจอีกก็ต้องใช้เทคนิคการจูนแล้วครับดังนี้
1.ลองใช้เทปกาวติดบนหนังด้านบนลองใช้ขนาด และตำแหน่งการติดที่ต่างๆกัน การลดเสียงก้องมากๆอาจติดเทปกาวหลายๆชั้น
2.ลองใช้กระดาษทิสชู ไม่ต้องแน่นครับลองใช้ขนาด และตำแหน่งการติดที่ต่างๆกัน
3.ใช้แผ่นจูนเสียงที่มีขายอยู่ในท้องตลาดซึ่งทำจาก Mylar ลักษณะเป็นรูปตัวโอ หรืออาจทำเองไม่ต้องซื้อโดยใช้หนังกลองเก่าตัดเป็นตัวโอ
การติดบนหนังอาจติดหลายวง หรือติดทับกันหลายๆชั้น
4.ตัดแผ่นสักหลาดแล้วติดบนหนังทั้งด้านบนหรือด้านล่าง ทดลองดูทั้งสองทาง และขนาดที่ต่างๆกัน
5.กรณีBass Drum เราใช้หมอนยัดเข้าไปข้างในแต่อย่าให้หมอนติดกับหนังนะครับ
ที่กล่าวไปเป็นแค่ไม่กี่วิธีในการจูน ผู้เขียนจำได้ว่าอาจารย์ที่สอนกลองคนแรกจูนเสียงกลองสแนร์Ludwig
ของเค้าด้วยการใช้กระเป๋าเงินติดบนหนังซึ่งเสียงที่ได้ก็ดีด้วย สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักไว้คือการจูนเสียงเพื่อลดเสียงก้องมากไปนั้นไม่ดี
เพราะเสียงมันจะเหมือนกับคุณกำลังตีโต๊ะอยู่ เสียงก้องนี่แหละทำให้เสียงกลองเป็นกลอง ดังนั้นจึงต้องให้มีเสียงก้องอยู่แต่ในจำนวนที่น้อย





"การจูนเสียงสแนร์"
การจูนเสียงสแนร์นั้นต่างจากการจูนเสียงทอมและBass Drum คุณต้องมีปัจจัยพิเศษอย่างหนึ่งที่ต้องพิจารณานั้นคือเจ้าเส้นสแนร์
ที่ขึงสัมผัสอยู่กับหนังด้านล่าง (ขอเรียกหนังด้านล่างและเส้นสแนร์รวมว่าSnare Headนะครับ )
โดยส่วนใหญ่คุณมักขัน Snare Head ให้ตึงกว่าด้านบน ซึ่งมันจะให้เสียงสดใส กระชับกระเฉง ลดเสียงหึ่งๆที่ไม่ต้องการลง
คุณสามารถปรับเสียงสแนร์ได้จากตัวปรับสายสแนร์ โดยถ้าปรับให้สายสแนร์หย่อนไปก็จะได้เสียงที่อึกกระทึกครึกโครม
ถ้าแน่นไปเสียงสแนร์ก็จะอุดอู้เสียงไม่ออก คุณต้องปรับให้พอดีอยู่ระหว่างตรงกลางครับ

ลองดูเคล็ดลับในการตั้งเสียงสแนร์ตรงนี้ครับ
-เสียงสแนร์ที่แบน คุณต้องปรับ Snare Head ให้หย่อนที่สุดเท่าที่ทำได้ ขณะที่หนังด้านบนต้องค่อนข้างตึง
-สำหรับเสียงที่ดังเปรี้ยงปร้าง คุณต้องจูน Snare Headให้สูงกว่าหนังด้านล่าง 2-3 เสียง
-สำหรับเสียงResonant สูงๆ คุณต้องตั้งหนังด้านบนและSnare Head ให้มีระดับเสียงที่เกือบจะเท่ากัน
หรือจูนให้ Snare Head มีระดับเสียงที่สูงกว่าด้านบนเล็กน้อย

หลังจากคุณจูนสแนร์ได้เสียงที่เพอร์เฟคแล้ว ปัญหาต่อไปที่คุณจะเจอคือเสียงการสั่นสะเทือนของ สแนร์
หรือเสียงหึ่งที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียงที่มีระดับเสียงเดียวกับเสียงสแนร์ของคุณ อาจเป็นจากกลองใบอื่น
หรือเครื่องดนตรีชิ้นอื่นการแก้ปัญหาเสียงหึ่งมีหลายวิธีดังนี้
1.ตั้งเสียงสแนร์ใหม่ทั้งหมด(การแก้ด้วยวิธีนี้จะเกิดปัญหาที่ตามมากับกลองใบอื่นๆในชุดอีก)
2.คลายน๊อตที่ขันหนังให้หย่อนลงทั้งด้านบนและด้านล่าง
3.ใช้ ไพ่หรือกระดาษทิสชู ใส่เข้าไประหว่างหนังด้านล่างและเส้นสแนร์

ขณะที่ไกไลด์ทั่วไปสำหรับการจูนเสียงกลองสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทอมใบเล็กหรือใบใหญ่ แต่ยังมีประเด็นเฉพาะที่ต้องกล่าวถึงอีกดังนี้
1.สำหรับเสียงที่แบน คุณต้องปรับ หนังด้านล่างให้หย่อนกว่าหนังด้านบน
2.สำหรับเสียงResonant สูงๆ คุณต้องตั้งหนังด้านบนและด้านล่าง ให้มีระดับเสียงที่เกือบจะเท่ากัน
3.สำหรับเสียงที่เต็มๆ ดังควรใช้หนังด้านบนเป็นหนังน้ำมันสองชั้น(Hydraulic )
4.เพื่อให้เกิดเสียงที่ดังมากขึ้นสำหรับหนังด้านบนที่เป็นหนังน้ำมันสองชั้น(Hydraulic ) ควรใช้หนังชั้นเดียวอย่างบางเป็นหนังด้านล่าง
5.ในการลดเสียงOvertoneที่มากไปขณะที่ยังรักษาเสียงตีที่ดุดัน คุณต้องใช้หนังด้านบนเป็นหนังชั้นเดียวและใช้หนังด้านล่างแบบMuffled
6.สำหรับเสียงทอมที่เข้ม ขณะที่ยังคงให้เสียง Resonantต้องเปลี่ยนไปใช้หนังกลองประเภทสีดำทึบทั้งสองด้าน

"การจูน Bass Drum"
การเลือกใช้หนังกลองมีผลกระทบต่อเสียงที่เกิดขึ้นของกลอง ลองดูตารางข่างล่างนี้ครับเป็นรายละเอียดของเสียงBass Drum
ที่จะเกิดขึ้นแยกตามหนังประเภทต่างๆดังนี้
-เสียง Bass Drum เปิด มี Resonant สูง ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
เช่นเดียวกันกับหนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว และไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
-เสียง Bass Drumที่ดุดัน เปิด มีเสียงOvertoneเล็กน้อย ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง
ขณะที่หนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว ไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
-เสียง Bass Drumที่ดุดัน เป็นจุด ไม่กระจาย มีเสียงOvertone ที่คุมได้ ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง
เช่นเดียวกันกับหนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว และต้องมีการจูนที่หนัง
-เสียง Bass Drumที่ดุดัน มีเสียงOvertone ที่คุมได้ ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว
ต้องมีการจูนที่หนัง ขณะที่หนังด้านหน้าใช้เป็นหนัง 2 ชั้น
-เสียงกระแทกๆ เป็นจุด ไม่มีเสียงOvertone ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นหนัง 2 ชั้น หรือเป็นหนัง Hydraulic
ขณะที่หนังด้านหน้าใช้เป็นหนัง 2 ชั้น

นอกจากนี้ยังมีประเด็นเพิ่มเติม ในการจูนเสียง Bass Drumดังนี้
-ในการจูนให้เกิดระดับเสียงที่สูง ก็จะให้เสียงกลองที่กระแทกๆมากขึ้น
-สำหรับเสียงกระแทกที่มากยิ่งขึ้น จูนหนังด้านหน้าให้ตึงกว่าหนังด้านที่เหยียบ
-สำหรับเสียงกลองที่ใหญ่ๆ จูนหนังด้านหน้าให้หย่อนมากที่สุดแต่ไม่ถึงขนาดเป็นเสียงแฟล๊บๆ
-ถ้าจะลดเสียงOvertone ให้ใส่ ผ้าห่มหรือหมอนเข้าไปในกลอง หรือโดยการติดเทปสักหลาด ตรงกลางของหนังด้านที่เหยียบ
-การเจาะรูตรงหนังด้านหน้าเพื่อลดเสียงก้อง ต้องมั่นใจว่ารูดังกล่าวต้องไม่อยู่ตรงจุดกึ่งกลางและเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 8 นิ้ว
-การทำให้เกิดเสียง Resonant ที่มากขึ้นโดยการปรับเดือยที่ Bass Drum ให้กลองยกสูงจากพื้นมากที่สุด
จากที่กล่าวไปทั้งหมดเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด แต่การจูนเสียงกลองนั้นเป็นศิลปะมากกว่าวิทยาศาสตร์
ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำคือต้องลองจูนในส่วนผสมที่ต่างๆกัน จากนั้นเลือกส่วนผสมที่ให้เสียงที่ดีที่สุดสำหรับสไตล์เพลงของคุณ
หรือดีที่สุดในสถานะการณ์ขณะนั้น
เขียนโดย webdevils_fam
วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ 22:35 | 0 ความคิดเห็น  




การจับไม้กลอง
การจับไม้กลองมีสองแบบใหญ่ๆคือ แบบดั่งเดิม (Traditional) และแบบ Matched
ซึ่งไม่มีข้อสรุปใดว่าแบบใดแบบหนึ่งจะดีกว่ากัน แต่ควรจะศึกษาทั้งสองแบบถ้าทำได้ครับ การจับแบบดั่งเดิมนั้น
ส่วนใหญ่มาจากมือกลองพวก Jazz ขณะที่การจับอีกแบบนั้นเริ่มจากพวกมือกลองเพลงร็อคยุค ปี60
มีข้อโต้แย้งกันว่าการจับแบบดั่งเดิมนั้นพลิกแผลง มีกลเม็ดที่ดีกว่า ขณะที่การจับแบบ Matched ให้แรงที่ดีกว่า ซึ่งคุณควรจะลองดู
ทั้งสองแบบนะครับ เพื่อจะได้เข้าใจ และก็มีมือกลองจำนวนไม่น้อยที่จับทั้งสองแบบขึ้นอยู่กับความต้องการลองดูการจับตามรูปครับ


เห็นได้ว่าการจับทั้งสองแบบนั้นมือขวาจะจับเหมือนกัน การจับนั้นอย่าจับแน่นนะครับจับแบบหลวมๆสบายๆ ส่วนตำแหน่งจับที่ถูกต้อง
ให้แบ่งไม้เป็น 3 ส่วน เราจับโดยระดับของนิ้วโป้งข้างขวาอยู่ในระดับ 1ใน 3 จากไม้ด้านล่าง หรือประมาณ 5 นิ้วครับ
(ไม้กลองโดยทั่วไปยาวในระหว่าง(15.1 –16.3นิ้ว) ถ้าจับแบบ Matched นั้นมือซ้าย ต้องหงายมือขึ้นให้ไม้กลองอยู่ระหว่าง
นิ้วโป้งและนิ้วนาง โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง ควบคุมไม้ให้ติดมือเราอย่าแน่นนะครับ ตำแหน่งที่ถูกคือ มืออยู่ตำแหน่งประมาณ 2นิ้วจากปลายไม้ครับ
ดูการจับตามรูปครับ


การเคลื่อนไหวของมือขวา โดยใช้ข้อมือขวายกขึ้น ย้ำว่าข้อมือนะครับไม่ใช่ยกมือขึ้นแล้วปล่อยข้อมือลงให้ขนานกับพื้น แล้วทำซ้ำๆครับ 1& 2
ไม้ควรขึ้นลงตรงครับอย่าเอียง โดยการจับแบบMatched นั้นมือซ้ายขวานั้นเหมือนกัน ส่วนการจับแบบดั่งเดิมนั้น มือซ้ายต้องหงายมือขึ้น
แล้วใช้ข้อมือยกไม้ขึ้น ประมาณ7-8 นิ้ว แล้วใช้ข้อมือ บิดลง แล้วลองทำซ้ำ1& 2เช่นเดียวกัน ไม้ควรเคลื่อนไหวตรงไม่เฉียงครับ
การจับแบบดั่งเดิมนี้ มือซ้ายอาจ ฝกใหม่อาจไม่ถนัด ต้องฝึกบ่อยครับ อย่าลืมนะครับ ว่าให้ใช้แต่ข้อมือ
ถึงแม้ว่าจะต้องการตีดังๆก็ใช้ข้อมือและนิ้วช่วย ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งแขนครับ นอกจากจะต้องการให้เกิดความรู้สึกว่าเล่นอย่างรุนแรง
เช่นแนวเพลง ร็อค อาจใช้การยกขึ้นลงของแขนแสดงออก แต่จริงแล้วก็ยังใช้ข้อมืออยู่ดีครับ

เขียนโดย webdevils_fam
วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ 09:52 | 0 ความคิดเห็น  




พูดถึงไม้ตีกลอง 
น้ำหนักของไม้ คุณสมบัติต่างๆกันของไม้และรูปทรงของไม้กลองล้วนมีอิทธิผลต่อเสียงกลองและเสียงของCymbal และ Hi-Hat
ดังนั้นมาทำความรู้จักไม้กลองให้มากขึ้นดังนี้ครับ
ไม้ที่ทำ
ประมาณ 90% ของไม้กลองนั้นทำมาจากไม้ American Hickory ส่วนที่เหลืออาจเป็น ไม้โอ๊ค เมปิ้ล Birchหรือ Beech
หรือพิเศษกว่านั้นก็เป็นไม้ Rosewood สาเหตุที่ไม้ส่วนใหญ่เป็น American Hickoryเพราะคุณสมบัติของมันที่มีความแข็งแกร่ง น้ำหนัก
สัดส่วน และความรองรับการสั่นสะเทือนจากการตีได้ดี
ความยาวและน้ำหนัก
ไม้กลองส่วนใหญ่จะมีความยาวอยู่ในช่วง 385มิลลิเมตร(15.1นิ้ว)-415มิลลิเมตร(16.1นิ้ว) การใช้ไม้ที่ยาวกว่านี้ขณะที่แขนของคุณ
สั้นก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากเพราะเราไม่ได้จับไม้กลองที่ปลายสุด(ถึงจะจับได้แต่ก็ไม่ใช่ตำแหน่งที่ดีในการตี)ซึ่งโดยทั่วไปเราจับในตำแหน่ง 1
ใน 3ของไม้เราอาจเรียกว่าเป็นจุดศูนย์ถ่วงก็ได้(Fulcrum Point) น้ำหนักของไม้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง40-70กรัม ซึ่งน้ำหนักของ
ไม้สัมพันธ์อย่างยิ่งกับความยาว ความหนา และประเภทของไม้


รูปทรงของไม้กลอง 
ลักษณะทั่วไปคือเป็นการเหลาไม้จากปลายไม้(Butt)ให้เล็กลงในจนถึงส่วนปลาย(Shoulder)แต่ก็มีไม้ที่ดีไซด์พิเศษให้ตัวด้าม
Shaft)ใหญ่กว่าปลายซึ่ง เป็นไม้ของTom Gauger เช่นรุ่นของTomm Gauger#17 ความลาดชันของด้ามที่เปลี่ยนไปให้ความรู้สึก
และความสมดุลย์ที่ดีพิเศษเพราะจุดศูนย์ถ่วง(Fulcrum Point)ได้เปลี่ยนไปอยู่ใกล้ปลายไม้มากขึ้น
ลักษณะของหัวไม้
รูปทรงของหัวไม้กลองแบ่งได้เป็น 3แบบใหญ่ๆ(ตามรูปที่ 2 ข้างบน)คือรูปทรงกลม(เหมือนลูกบอลหรือแอปเปิ้ล)
รูปทรงรี(เหมือนลูกสาลี่)
และรูปทรงสามเหลี่ยม(เหมือน ปิรามิด) ซึ่งลํกษณะของหัวไม้มีอิทธิผลอย่างมากต่อเสียงที่เกิดขึ้นเวลาเราตีCymbal
อิทธิผลของน้ำหนักต่อเสียงที่เกิดขึ้น
น้ำหนักของไม้ขึ้นอยู่กับขนาดและความหนาแน่นของไม้ ตามกฎของเสียงสะท้อนบอกว่าไม้กลองที่มีน้ำหนักมากทำให้ได้เสียง
ที่เต็มมากกว่า คำว่าเสียงเต็มหมายถึงได้คลื่นที่กว้างจากคลื่นเสียงที่ต่ำไปถึงสูงออกมา
ตัวอย่างที่เห็นชัดคือเมื่อมือกลองคนหนึ่งตีกลองในระยะ5-6เมตรห่างจากเราโดยไม่มีไมค์ และใช้ไม้กลองขนาดเล็กๆ
ให้ตีแรงสุดๆแค่ไหน
เสียงก็ออกมาไม่ดีครับ ขณะที่เล่นด้วยไม้ใหญ่ขึ้นแต่ตีเบาลงจะได้เสียงที่ดีกว่า ลองเทียบดูครับ และเมื่อในสถานะการณ์ที่เล่นโดยผ่าน
การมิคเสียง ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ซาวน์เอนจิเนียร์
ของคุณล๊ะที่จะช่วยปรุงเสียงของคุณ เสียงตีCymbalที่ออกมาจากไม้ที่มีน้ำหนักจะมีความถี่เสียงที่ต่ำกว่า
ไม้น้ำหนักเบา ซึ่งบางครั้งคุณอาจไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น แต่เราสามารถแก้ไขโดยเลือกลักษณะของหัวไม้ใหม่


อิทธิผลของหัวไม้และเสียงที่เกิดขึ้น 
ตามกฎของเสียงสะท้อนบอกว่าจุดสัมผัสที่ยิ่งเล็กเท่าไหร่ก็จะทำให้เสียงที่เกิดขึ้นเป็นคลื่นความถี่ที่ยิ่งสูงตามไปด้วยเช่นกัน
และเช่นเดียวกันกับความหนาแน่นของไม้ยิ่งหนาแน่นมากเท่าไหร่ก็จะทำให้เสียงที่เกิดขึ้นเป็นคลื่นความถี่ที่ยิ่งสูงตามไปด้วย
ไม้ในอุดมคติของผู้เขียนเรื่องนี้คือไม้ที่มีน้ำหนัก ทำจากไม้ที่มีความหนาแน่นมาก มีหัวไม้เป็นทรงสามเหลี่ยม เพราะน้ำหนักและความ
หนาแน่นของไม้ให้ความหนาแน่นของเสียงและหัวไม้ทรงสามเหลี่ยมให้เสียงที่ชัดเจนเวลาตีCymbal
ภาพต่อไปนี้แสดงให้เห็นรูปทรงของหัวไม้ที่มีอิทธิผลต่อเสียง
ไม้หัวทรงสามเหลี่ยม (ภาพที่ 4 )เห็นได้ว่าเกิดจุดสัมผัสที่เล็กที่สุดดังนั้นเสียงที่ได้ออกมาก็จะเป็นเสียงที่มีความถี่เสียงที่สูง เคลียร์
ชัดเจนเนื่องจากแรงที่กดลงไปทั้งหมดสัมผัสในจุดเล็ก เราลองเปลี่ยนตำแหน่งของไม้(ภาพที่5)โดยให้พื้นที่สัมผัสเต็มที่เสียงที่ได้จะเปลี่ยน
ไปจากเคลียร์ ชัดเจน เป็นเสียงที่ทึบ ลองดูไม้กลองหัวรูปวงรี (ภาพที่6) ให้พื้นที่ผิวสัมผัสที่เหมือนกับทรงสามเหลี่ยมและเมื่อเปลี่ยน
ตำแหน่งการตีก็เกิดผิวสัมผัสที่ไม่ต่างกัน สุดท้ายไม้รูปทรงวงรี (ภาพที่7) จากรูปเห็นได้ว่าไม้ประเภทนี้ทำให้เกิดผิวสัมผัสมากที่สุดกว่า
ที่กล่าวไปแล้ว ดังนั้นจึงทำให้เกิดเสียงที่เข้มกว่า และเมื่อเทียบกับไม้ทรงหัวสามเหลี่ยม ไม้ประเภทนี้จะให้เสียงที่เข้มกว่าแบบแรก
แต่เบากว่าหัวสามเหลี่ยมแบบที่ 2 เนื่องจากเกิดผิวสัมผัสที่น้อยกว่า
จับคู่ไม้กลอง
ผู้ผลิตพยายามที่จะจับคู่ไม้กลองด้วยกันด้วยเบอร์เดียวกันและน้ำหนักเท่ากัน แต่ด้วยปัจจัยด้านสภาพอากาส ความชื้น
ล้วนมีอิทธิผลต่อไม้ที่ทำ ทางออกที่ดีคือคุณต้องพยายามจับคู่ไม้กลองด้วยตนเอง(แต่ผมว่าบ้านเราคงทำอย่างนั้นไม่ได้)
แต่ไม้กลองส่วนใหญ่นั้นบรรจุอยู่ในถุง ซึ่งก็สามารถเช็คได้ด้วยการกลิ้งบนพื้นที่เรียบๆเพื่อดูว่ามันงอหรือไม่
เบอร์บนไม้กลอง
ผู้ผลิตไม้กลองส่วนใหญ่ ใส่เบอร์ของตนบนไม้เช่น 5A,7B,6A,หรือ 3B ซึ่งผู้ผลิตไม่มีระบบที่แน่นอนที่จะบอก
คุณสมบัติที่แท้จริงของไม้ได้ จึงตั้งเป็นเบอร์ดังกล่าวและเบอร์ต่างๆนั้นก็ไม่สามารถนำไปเทียบกับผู้ผลิตบริษัทอื่น
เบอร์นั้นช่วยบอกแค่เป็นระบบที่ทำให้คุณอ้างอิงในการซื้อให้ตรงความต้องการ
นอกเหนือจากระบบเบอร์ อาจมีระบบอิงชื่อศิลปิน เช่นJohn Doe Jazz Model,Dolly Parton Swing Model
,Steve Gadd ฯลฯ คำแนะนำของผู้เขียนคือควรซื้อไม้กลองเก็บตุนไว้เป็นโหลครับ
เขียนโดย webdevils_fam
วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ 01:00 | 0 ความคิดเห็น  
กลองไฟฟ้า ROLAND HD-1

BNG MUSIC ตัวแทนจำหน่าย เครื่องดนตรี ชั้นนำระดับโลกมากมายหลากหลายยี่ห้อ ขอเสนอ กลองไฟฟ้า ยอดนิยม ROLAND!! รุ่นใหม่ล่าสุด HD-1 V-Drums Lite

ประกอบด้วย

-อุปกรณ์ แป้น Kick Pedal, Snare, Hi-Hat, Hi-Hat Pedal, Tom x 3, Crash, Ride

-เสียงกลอง 10 เสียง

-Patterns จังหวะกลอง 10 จังหวะ

-ปุ่มควบคุม (Controls Drum Kit button) x 5 ประกอบด้วย ปุ่ม Variation button, Metronome button, Volume knob, Tempo knob

-มีเครื่องให้จังหวะ (Metronome) ในตัว อัตราความช้า-เร็ว (Tempo) (40--220), แบบของเสียง 3 แบบ (3 types), ปุ่ม Volume 3 ระดับ (3 levels)

-ช่องต่อต่าง ๆ (Connectors) ช่องต่อออกเครื่องขยาย (Output jack) , ช่องต่อหูฟัง (Headphone jack), ช่องต่อกับเครื่องมิกเซอร์ (Mix In jack), ช่องต่อ MIDI Out connector

-อปกรณ์ย่อยที่มากับเครื่อง ดีวีดีวิธีการติดตั้งกลอง Set-up Guide, Video Manual (DVD), หม้อแปลงไฟ AC Adaptor (PSB-1U), สายต่อพ่วง Trigger Cable (Prepositioned in Drum Stand), กุญแจกลอง Drum Key, น็อตยึดต่าง ๆ Screwdriver, Screws for Sound Module x 4, Screws for Foot Pipe x 4, Roland Sticker

-ราคาตั้ง 35000 บาท

ทดลองฟังเสียงได้ที่ : http://www.roland.com/V-Drums_Lite/

เขียนโดย webdevils_fam
วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ 22:51 | 0 ความคิดเห็น  

กลองชุด YAMHA GIGMAKER

BNG MUSIC ตัวแทนจำหน่ายเครื่องดนตรี YAMAHA อย่างเป็นทางการ ขอเสนอ กลองชุด รุ่นใหม่ล่าสุดของ YAMAHA "GIGMAKER" เปิดตัวก่อนใคร (อีกแล้ว) ในประเทศไทย

ประกอบด้วย

-กลอง 2 หน้า 5 ใบ ไม้ 6 ชั้น (เฉพาะกระเดื่อง 7 ชั้น)

--Bass Drum (RBD522) 22" x 16"

-Tom Tom (RTT512) 12" x 9"

-Tom Tom (RTT613) 13" x 9.5"

-Floor Tom (RFT616) 16" x 16"

-Snare Drum (RSD1455) 14" x 5.5"

-เนื้อไม้ BASSWOOD POPLAR

-ขา HH YAMAHA (HS651W) 1 ตัว

-ขาแฉ YAMAHA (CS651W) 1 ตัว

-ขาสแนร์ YAMAHA (SS650W) 1 ตัว

-กระเดื่องเดี่ยว YAMAHA (FP6110) 1 ตัว

-ขายึดทอม (TH942BM x 2) พร้อมก้านยึดระบบลูกบอล ปรับมุมอิสระได้

-สี ดำ

-ผลิตจากประเทศอินโดนีเซีย

-ราคาตั้ง 28900 บาท

กลองชุด YAMHA STAGE CUSTOM ADVANTAGE

HIT!! กลองชุด รุ่นที่เป็นที่นิยมและดังที่สุดของ YAMAHA รุ่น STAGE CUSTOM ADVANTAGE ประกอบด้วย

-กลอง 2 หน้า 5 ใบ ไม้ 8 ชั้น (เฉพาะ Bass Drum ไม้ 9 ชั้น)

--Bass Drum (SBD622Y) 22" x 17"

-Tom Tom (STT612Y) 12" x 10"

-Tom Tom (STT613Y) 13" x 11"

-Floor Tom (SFT616Y) 16" x 16"

-Snare Drum (SSD065A) 14" x 5 1/2"

-เนื้อไม้ BIRCH, PHILIPINES MAHOGANY & FALKATA SHELL

-ขา HH YAMAHA (HS740) 1 ตัว

-ขาแฉบูม YAMAHA (CS745) 2 ตัว

-ขาสแนร์ YAMAHA (SS740) 1 ตัว

-กระเดื่องเดี่ยว YAMAHA (FP700) 1 ตัว

-ขายึดทอม (TH945A) พร้อมก้านยึดระบบลูกบอล ปรับมุมอิสระได้

-สี Fade Brown Amber, Fade Raven Black, Fade Cranberry Red, Fade Marina Green, Fade Purple Blue, Fade Yellow Natural, Natural Wood.

-ราคาตั้ง 49600 บาท

-ผลิตจากประเทศอินโดนีเซีย

กลองชุด YAMAHA TOUR CUSTOM

HIT!! กลองชุด รุ่นใหม่ล่าสุดของ YAMAHA รุ่น TOUR CUSTOM

ประกอบด้วย

-กลอง 2 หน้า 5 ใบ ไม้ 6 ชั้น (เฉพาะเบสดรัม 7 ชั้น)

--Bass Drum (TBD822U) 22" x 17"

-Tom Tom (TTT812U) 12" x 9"

-Tom Tom (TTT813U) 13" x 10"

-Floor Tom (TFT816) 16" x 16"

-Snare Drum (TSD0846) 14" x 6"

-เนื้อไม้ MAPLE 100%

-ขายึดทอม (TH945A) พร้อมก้านยึดระบบลูกบอล ปรับมุมอิสระได้

-สี Black Onyx, Ocean Blue, Sakura White, Brown Sunburst

-ราคาตั้ง 48000 บาท

****กรณีรวม HARDWARE **** ประกอบด้วย

-ขา HH YAMAHA (HS740) 1 ตัว

-ขาแฉบูม YAMAHA (CS845) 2 ตัว

-ขาสแนร์ YAMAHA (SS740) 1 ตัว

-กระเดื่องเดี่ยว YAMAHA (FP8210) 1 ตัว

-ราคาตั้ง 59600 บาท

-ผลิตจากประเทศอินโดนีเซีย

กลองชุด YAMHA STAGE CUSTOM NOUVEAU

HIT!! กลองชุด รุ่นที่เป็นที่นิยมและดังที่สุดของ YAMAHA รุ่นใหม่สุด STAGE CUSTOM NUVEAU ประกอบด้วย

-กลอง 2 หน้า 5 ใบ ไม้ 8 ชั้น

--Bass Drum (SBD622UN) 22" x 17"

-Tom Tom (STT612UN) 12" x 10"

-Tom Tom (STT613UN) 13" x 11"

-Floor Tom (SFT616UN) 16" x 16"

-Snare Drum (SSD065A) 14" x 5 1/2"

-เนื้อไม้ BIRCH, PHILIPINES MAHOGANY & FALKATA SHELL

-ขา HH YAMAHA (HS740) 1 ตัว

-ขาแฉบูม YAMAHA (CS745) 2 ตัว

-ขาสแนร์ YAMAHA (SS740) 1 ตัว

-กระเดื่องเดี่ยว YAMAHA (FP7210) 1 ตัว

-ขายึดทอม (TH945A) พร้อมก้านยึดระบบลูกบอล ปรับมุมอิสระได้

-สี Honey Amber, Fade Cranberry Red, Natural Wood.

-ราคาตั้ง 49600 บาท

-ผลิตจากประเทศอินโดนีเซีย

กลองชุด YAMHA OAK CUSTOM

HOT!! กลองชุด รุ่นที่คุณภาพสูง ของ YAMAHA รุ่นใหม่สุด OAK CUSTOM

ประกอบด้วย

-กลอง 2 หน้า 5 ใบ ไม้ 8 ชั้น

--Bass Drum (NBD822U) 22" x 17"

-Tom Tom (NTT810U) 10" x 8"

-Tom Tom (NTT812U) 12" x 9"

-Floor Tom (NFT816) 16" x 16"

-Snare Drum (NSD085A) 14" x 5 1/2"

-เนื้อไม้ OAK, PHILIPINES MAHOGANY & FALKATA SHELL

-ขา HH YAMAHA (HS840) 1 ตัว

-ขาแฉบูม YAMAHA (CS845) 2 ตัว

-ขาแฉตรง YAMAHA (CS845) 1 ตัว

-ขาสแนร์ YAMAHA (SS840) 1 ตัว

-กระเดื่องเดี่ยว YAMAHA (FP9310) 1 ตัว

-ขายึดทอม (TH945A) พร้อมก้านยึดระบบลูกบอล ปรับมุมอิสระได้

-เก้าอี้กลอง YAMAHA (DS840) 1 ตัว

-ไม้กลอง Vicfirth 1 คู่

-สี York Honey Amber Oak, Red Oak, Musashi Black, Silver Sparkle.

-ราคาตั้ง 111100 บาท

-ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น

กลองชุด YAMAHA RECORDING CUSTOM

TOP!! กลองชุด รุ่นที่คุณภาพสูง ของ YAMAHA รุ่น RECORDING CUSTOM

ประกอบด้วย

-กลอง 2 หน้า 5 ใบ ไม้ 8 ชั้น

--Bass Drum (BD922) 22" x 17"

-Tom Tom (TT912Y) 12" x 9"

-Tom Tom (TT913Y) 13" x 11"

-Floor Tom (FT916Y) 16" x 16"

-Snare Drum (NSD085A) 14" x 6 1/2"

-เนื้อไม้ BIRCH

-ขา HH YAMAHA (HS840) 1 ตัว

-ขาแฉบูม YAMAHA (CS845) 2 ตัว

-ขาแฉตรง YAMAHA (CS845) 1 ตัว

-ขาสแนร์ YAMAHA (SS840) 1 ตัว

-กระเดื่องเดี่ยว YAMAHA (FP9310) 1 ตัว

-ขายึดทอม (TH945A) พร้อมก้านยึดระบบลูกบอล ปรับมุมอิสระได้

-เก้าอี้กลอง YAMAHA (DS840) 1 ตัว

-ไม้กลอง Vicfirth 1 คู่

-สี Solid Black, Sherry Wood.

-ราคาตั้ง 139200 บาท

-ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น

กลองชุด YAMAHA MAPLE CUSTOM


TOP!! กลองชุด รุ่นที่คุณภาพสูง ของ YAMAHA รุ่น MAPLE CUSTOM

ประกอบด้วย

-กลอง 2 หน้า 5 ใบ ไม้ 8 ชั้น

--Bass Drum (MBD1322) 22" x 17"

-Tom Tom (MTT1312) 12" x 9"

-Tom Tom (MTT1313) 13" x 11"

-Floor Tom (MTT1316) 16" x 16"

-Snare Drum (MSD0105) 14" x 5 1/2"

-เนื้อไม้ MAPLE

-ขา HH YAMAHA (HS840) 1 ตัว

-ขาแฉบูม YAMAHA (CS845) 2 ตัว

-ขาแฉตรง YAMAHA (CS845) 1 ตัว

-ขาสแนร์ YAMAHA (SS840) 1 ตัว

-กระเดื่องเดี่ยว YAMAHA (FP9310) 1 ตัว

-ขายึดทอม (TH945A) พร้อมก้านยึดระบบลูกบอล ปรับมุมอิสระได้

-เก้าอี้กลอง YAMAHA (DS840) 1 ตัว

-ไม้กลอง Vicfirth 1 คู่

-สี Vintage Natural, Turquoise Maple, Black Maple.

-ราคาตั้ง 177700 บาท

-ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น

เขียนโดย webdevils_fam
วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ 23:19 | 0 ความคิดเห็น  
รูปกลองชุด LUDWIG
รูปกลองชุด LUDWIG



รูปกลองชุด MAPEX
รูปกลองชุด MAPEX



รูปกลองชุดPDP
รูปกลองชุด PDP



รูปกลองชุด LUDWIG
รูปกลองชุด LUDWIG



รูปกลองชุด LUDWIG
รูปกลองชุด LUDWIG



รูปกลองชุด LUDWIG
รูปกลองชุด LUDWIG



รูปกลองชุด LUDWIG
รูปกลองชุด LUDWIG



รูปกลองชุด LUDWIG
รูปกลองชุด LUDWIG



duble pedale Mapex
Duble pedale Mapex



กระเดื่อง  ของ Gibraltar
กระเดื่อง ของ Gibraltar



กระเดื่อง  ของ Gibraltar
กระเดื่อง ของ Gibraltar



drummm
กลองของ Mike Portnoy








รูปกลองชุด TAMA
รูปกลองชุด TAMA



รูปกลองชุด Pearl
รูปกลองชุด Pearl



รูปกลองชุดDW
รูปกลองชุด DW



รูปกลองชุดDW
รูปกลองชุด DW



รูปกลองชุดDW
รูปกลองชุด DW



รูปกลองชุดDW
รูปกลองชุด DW



รูปกลองชุดDW
รูปกลองชุด DW



รูปกลองชุดDW
รูปกลองชุด DW



รูปกลองชุดDW
รูปกลองชุด DW



รูปกลองชุดDW
รูปกลองชุด DW



รูปกลองชุดDW
รูปกลองชุด DW



รูปกลองชุดDW
รูปกลองชุด DW



รูปกลองชุดDW
รูปกลองชุด DW
เขียนโดย webdevils_fam
เขียนโดย webdevils_fam

Visit the Site
MARVEL and SPIDER-MAN: TM & 2007 Marvel Characters, Inc. Motion Picture © 2007 Columbia Pictures Industries, Inc. All Rights Reserved. 2007 Sony Pictures Digital Inc. All rights reserved. blogger template by blog forum