วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ 20:17 |  




"การตั้งเสียงกลองเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่างดังนี้" 
ความตึงของหนังกลองด้านบน(Batter Head)
ความตึงของหนังกลองด้านล่าง(Resonant Head)
ความสัมพันธ์ระหว่าความตึงของหนังด้านบนและด้านล่าง
ประเภทของหนังกลอง
ประเภทของตัวถังกลอง
การลดเสียงก้องจากหนังหรือตัวถัง
เมื่อคุณจูนเสียงกลอง คุณกำลังตั้งให้ได้เสียงที่มีระดับสูงสุดหรือต่ำสุด ให้ได้น้ำเสียงที่ใสหรือเสียงที่ทุ้มต่ำ

เพื่อให้เสียงดัง หรือเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวาลเกิดResonant ดังนั้นเพื่อให้เกิดเสียงที่มีคุณภาพ คุณต้องจัดการกับหนังทั้งสองด้านให้ดี
ความลึกของตัวถัง และเส้นผ่าศูนย์กลางจะมีผลต่อการจูนเสียง โดยความลึกให้เสียงที่นุ่มและการเกิด Resonant
รวมถึงความดังและความชัดเจนที่ดี ขณะที่ตัวถังบางให้เสียงที่สั้นและเกิดเสียงตอบสนองการตีได้เร็วกว่า
ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวถังมีผลต่อระดับเสียงคือยิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางที่ยาวย่อมให้เสียงที่ต่ำกว่า

"หนังกลอง"
กลองทุกชุดต้องมีหนังอย่างน้อย 1 ด้าน กลองที่มีหนังด้านเดียวจะให้เสียงที่แห้งๆ ลัษณะกระแทกๆ หนังส่วนที่เราตีเรียกว่าBatter
ส่วนที่ไม่ได้ตีเรียกว่า Resonant หรือเรียกว่าหนังด้านบนหรือด้านล่างก็ได้ หนังกลองเป็นแหล่งกำเนิดเสียงด่านแรกของกลอง
ดังนั้นการเลือกใช้ให้เหมาะสม และการจูนเสียงเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่นเดียวกันกับตัวถัง และโครงสร้างอื่นของกลอง มีผู้เชี่ยวชาญบางคนพูดว่า85%
ของเสียงกลองมาจากหนัง ดังนั้นการเลือกใช้ที่ผิดจะทำให้เสียงของกลองคุณไม่ประทับใจครับ
หนังกลองในปัจจุบันทำจากMylar ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ย้อนไปในอดีตหนังกลองส่วนใหญ่ทำจากหนังสัตว์เช่น ลูกวัว ช้าง แกะ
ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่ามีจุดอ่อนที่เสียงเพี้ยนง่ายเมื่อเจอความชื้นของอากาศ ทำให้ต้องมีการจูนเสียงบ่อยๆ
ขณะที่พลาสติก มีคุณสมบัติที่ทนทานกว่าและเสียงไม่เพี้ยน

บริษัทผู้ผลิตหนังกลองใหญ่ในปัจจุบันคือ "Remo", "Evans" ,"Ludwig"
โดยมีการผลิตหนังในประเภทและขนาดต่างๆกันสามารถจำแนกได้ดังนี้

"หนังชั้นเดียวอย่างบาง"
เป็นหนังที่มี Mylar ชั้นเดียว เป็นหนังที่บางที่สุด ตัวอย่างรุ่นเช่น Remo Diplomats
ซึ่งเราจะใช้ไว้เป็นหนังด้านล่าง เพื่อให้เกิด Resonant
"หนังชั้นเดียว"
เป็นหนังที่มี Mylar ชั้นเดียว ให้เสียงที่คมชัดเจน และให้เสียงที่สั่นออกมาดี แต่ไม่ค่อยทนทาน
ไม่เหมาะกับคนที่เล่นเพลงหนักๆ หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Ambassadors และEvans G1s
ซึ่งเป็นหนังยอดนิยมที่ใช้ในห้องอัดเสียงหรือการใช้ไมค์มิกซ์เสียง
"หนังสองชั้น"
เป็นหนังที่มี Mylar 2 ชั้น หนังที่หนาขึ้นทำให้เสียงที่เกิดมีลักษณะที่แห้งกว่า เสียงสั้นน้อยกว่า
แต่มีความคงทนเหมาะกับการเล่นเพลงแนวร๊อค หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Emperors และEvans G2s

"Muffled"
เป็นหนังที่เหมาะกับงานหนักที่สุด ให้ลักษณะเสียงที่สุขุมแต่ไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าไหร่อาจเป็นเพราะโครงสร้างภายในที่ถูกผลิตขึ้นมา
หนังประเภทนี้ได้แก่ Remo Pinstripes หรือEvans Genera HD
"ไฮดรอลิก"
เป็นหนังสองชั้นแต่มีชั้นน้ำมันอยู่ตรงกลาง ให้เสียงที่มีลักษณะอ้วนที่สุด มีความทนทาน ถ้าชอบเสียงแบบนี้ก็ต้องมองหา
Evans Hydraulic ซึ่งบริษัทนี้ค่อนข้างมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการผลิตหนังประเทภนี้
นอกจากนั้นหนังกลองยังมีประเภทเคลือบกับไม่เคลือบอีก หนังกลองเคลือบมีพื้นผิวที่หยาบกว่าช่วยลดเสียง Overtone
ให้น้อยลง ให้เสียงที่มนๆกว่าไม่เคลือบ หนังเคลือบเหมาะกับการเล่นด้วยแส้ ส่วนในใบอื่นๆเช่นทอม ที่ไม่ค่อยใช้แส้ตี
คุณอาจใช้หนังที่ไม่ต้องเคลือบก็ได้

เมื่อใดที่ต้องเปลี่ยนหนัง
ถ้าหนังกลองของคุณไม่สามารถจูนเสียงได้อีกแล้ว ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยน หรือที่เรียกว่าหนังมันตายแล้ว
และต้องเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน คำตอบคือมันขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้งานหนังกลองมากแค่ไหน และขึงหนังตึงแค่ไหน
ลองดูสัญญานที่บ่งบอกว่าถึงเวลานั้นแล้ว
-เมื่อส่วนที่เคลือบหนังไว้เริ่มหลุดออก
-เมื่อเกิดร่องลอยบนหนัง
-เมื่อหนังเมื่อถอดออกแล้วเกิดการบิดเบี้ยว
-เมื่อไม่สามารถจูนเสียงได้แล้ว โดยเฉพาะเสียงต่ำ
-เมื่อคุณตีแล้วเสียงไม่ค่อยออก
-เมื่อหนังเกิดหลุมจากการตี

ลองดูไกไลด์ตรงนี้ครับ ตารางนี้เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่ใช้งานหนัก กลองถูกตีวันละหลายชั่วโมง
ถ้าคุณเล่นวันละไม่มากวันละไม่กี่ชั่วโมง อาจยืดระยะเวลาออกไปจากนี้
* หนังสแนร์บน เปลี่ยนทุกเดือน
* หนังสแนร์ด้านล่าง เปลี่ยนทุกสามเดือน
* หนังกลองใหญ่ด้านที่ตี เปลี่ยนทุกสามถึงหกเดือน
* หนังกลองใหญ่ด้านหน้า เปลี่ยนปีละครั้ง
* หนังกลองทอมด้านบน เปลี่ยนทุกสามถึงหกเดือน
* หนังกลองทอมด้านล่าง เปลี่ยนปีละครั้ง

เมื่อต้องเปลี่ยนหนังกลอง คุณควรปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้ครับ
1.ถอดหนังอันเก่าออก
2.ทำความสะอาดภายในกลองด้านใน ด้วยการเช็ดฝุ่น และคราบเปื้อนต่างๆออก
3.ค่อยๆใส่หนังกลองอันใหม่ลง ให้แนบสนิทกับตัวถัง
4.ใส่กรอบครอบหนัง
5.ใส่น๊อตลงบนLug ใช้แค่มือหมุนก่อนนะครับ
6.ใช้กุญแจกลองค่อยขันน๊อตให้แน่น(วิธีการขันจะพูดในช่วงต่อไป)
7.ปรับหนังให้แน่นกระชับกับตัวถัง ระหว่างนี้อาจเกิดเสียงกร๊อบแก๊บ ซึ่งเป็นธรรมชาติของหนังที่ปรับตัวตามความตึงที่เพิ่มขึ้น
8.การจูนเสียงให้ถูกต้อง(จะพูดในช่วงต่อไป)





"การตั้งเสียงกลอง"
วิธีจูนเสียงกลองนั้นเหมือนกันในทุกๆใบ ไม่ว่าจะเป็นทอม สแนร์ หรือBass drum แต่สแนร์นั้นอาจมีวิธีจูนที่เป็นเอกภาพต่างหาก
จะพูดต่อไปในอนาคตต่างหากครับ หนังด้านบนมีไว้ถูกตีให้เกิดเสียงด้วยการสั่น
ขณะที่หนังด้านล่างช่วยให้เกิดการResonant เกิดเสียงOvertone
ดังนั้นหนังด้านล่างจึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่าด้านบนเช่นกัน ในขณะที่จูนเสียงคุณต้องใช้กุญแจปรับความตึงของหนัง
หนังยิ่งตึงยิ่งให้เสียงที่สูงขึ้น การขันน๊อตไม่ควรขันเรียงลำดับกันไป และไม่ควรขันให้แน่นในทีเดียว
ควรเริ่มจากตำแหน่งที่หนึ่ง แต่ไม่ใช้ขันไล่ไปทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกา แต่ตัวต่อไปต้องไขในตำแหน่งตรงกันข้ามกับตัวแรกด้วยแรงบิดที่เท่ากัน

แล้วทำด้วยวิธีเดียวกันไปเรื่อยๆกับน๊อตที่เหลืออยู่ จนกลับมาที่น๊อตตัวแรกค่อยขันให้แน่นขึ้น แล้วขันไปในแรงบิดที่เท่ากันจนครบทุกตัว
จากนั้นค่อยๆปรับหนังให้ตึงเท่าๆกัน ไม่มีตรงไหนหย่น ลองตีแล้วแล้วให้เสียงที่ต่ำๆเท่ากัน จากนั้นค่อยๆขันน๊อตขึ้นประมาณ1/4
รอบจนได้เสียงที่ถูกใจ ในส่วนหนังด้านล่างใช้วิธีการจูนเช่นเดียวกัน แต่จะต้องสัมพันธ์กับหนังด้านบน
ซึ่งอาจจูนให้ได้ระดับเสียงที่ เท่ากับ สูงกว่า หรือต่ำกว่าหนังด้านบนก็ได้ คุณต้องลองตั้งดูแล้วเลือกเสียงที่ชอบครับ
เมื่อจูนเสียงได้แล้ว ก็จูนใบอื่นๆอีกให้เข้ากัน โดยทั่วไปกลองใบเล็กจะให้เสียงที่สูงกว่าใบใหญ่
คุณต้องตั้งเสียงกลองให้มีระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งทอมแต่ละใบควรตั้งให้เสียงต่างกันเป็นคู่สามหรือคู่สี่ (คือเสียง โดกับมี หรือโดกับฟา)
ซึ่งคุณควรทราบว่าการตั้งเสียงกลองไม่มีถูกหรือผิด มือกลองแต่ละคนมีวิธีต่างกัน การตั้งเสียงกลองที่สูงไป เสียงกลองจะไม่เป็นธรรมชาติ
เสียงไม่ออก ตรงกันข้ามถ้าตั้งต่ำเกินไปเสียงจะหายไป ได้เสียงหย่อนๆยานๆ
คุณจำเป็นต้องจูนให้ได้ในตำแหน่งที่ไพเราะของกลองชุดนั้นด้วยหูของคุณเอง

"การลดเสียงก้องของกลอง"
เสียงกลองเกิดจากResonant ของตัวถังและหนัง มือกลองบางคนชอบให้กลองออกเสียงก้อง
ขณะที่บางคนไม่ชอบแต่ชอบเสียงแห้งๆ
ถ้าต้องการแก้ปัญหาเสียงก้องควรจัดการดังนี้
1.คลายน๊อตที่ขันหนังด้านบนลง 1/4-1/2 รอบ หรืออาจไปขันน๊อตหนังด้านล่างเพิ่มหรือลด
การทำทั้งสองแบบนั้นเพื่อให้หนังด้านล่างและบนมีระดับเสียงที่ต่างกัน
2.เปลี่ยนหนังครับ ถ้าคุณใช้หนังด้านอยู่เป็นชั้นเดียวอยู่ก็เปลี่ยนไปใช้หนังสองชั้น เช่น Remo Pinstripe
ถ้ายังไม่พอใจต้องการเสียงที่ก้องน้อยลงอีก ก็ไปใช้Evan Hydraulic หนังน้ำมันเลยครับ
และถ้าเสียงที่ได้ยังไม่น่าพอใจอีกก็ต้องใช้เทคนิคการจูนแล้วครับดังนี้
1.ลองใช้เทปกาวติดบนหนังด้านบนลองใช้ขนาด และตำแหน่งการติดที่ต่างๆกัน การลดเสียงก้องมากๆอาจติดเทปกาวหลายๆชั้น
2.ลองใช้กระดาษทิสชู ไม่ต้องแน่นครับลองใช้ขนาด และตำแหน่งการติดที่ต่างๆกัน
3.ใช้แผ่นจูนเสียงที่มีขายอยู่ในท้องตลาดซึ่งทำจาก Mylar ลักษณะเป็นรูปตัวโอ หรืออาจทำเองไม่ต้องซื้อโดยใช้หนังกลองเก่าตัดเป็นตัวโอ
การติดบนหนังอาจติดหลายวง หรือติดทับกันหลายๆชั้น
4.ตัดแผ่นสักหลาดแล้วติดบนหนังทั้งด้านบนหรือด้านล่าง ทดลองดูทั้งสองทาง และขนาดที่ต่างๆกัน
5.กรณีBass Drum เราใช้หมอนยัดเข้าไปข้างในแต่อย่าให้หมอนติดกับหนังนะครับ
ที่กล่าวไปเป็นแค่ไม่กี่วิธีในการจูน ผู้เขียนจำได้ว่าอาจารย์ที่สอนกลองคนแรกจูนเสียงกลองสแนร์Ludwig
ของเค้าด้วยการใช้กระเป๋าเงินติดบนหนังซึ่งเสียงที่ได้ก็ดีด้วย สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักไว้คือการจูนเสียงเพื่อลดเสียงก้องมากไปนั้นไม่ดี
เพราะเสียงมันจะเหมือนกับคุณกำลังตีโต๊ะอยู่ เสียงก้องนี่แหละทำให้เสียงกลองเป็นกลอง ดังนั้นจึงต้องให้มีเสียงก้องอยู่แต่ในจำนวนที่น้อย





"การจูนเสียงสแนร์"
การจูนเสียงสแนร์นั้นต่างจากการจูนเสียงทอมและBass Drum คุณต้องมีปัจจัยพิเศษอย่างหนึ่งที่ต้องพิจารณานั้นคือเจ้าเส้นสแนร์
ที่ขึงสัมผัสอยู่กับหนังด้านล่าง (ขอเรียกหนังด้านล่างและเส้นสแนร์รวมว่าSnare Headนะครับ )
โดยส่วนใหญ่คุณมักขัน Snare Head ให้ตึงกว่าด้านบน ซึ่งมันจะให้เสียงสดใส กระชับกระเฉง ลดเสียงหึ่งๆที่ไม่ต้องการลง
คุณสามารถปรับเสียงสแนร์ได้จากตัวปรับสายสแนร์ โดยถ้าปรับให้สายสแนร์หย่อนไปก็จะได้เสียงที่อึกกระทึกครึกโครม
ถ้าแน่นไปเสียงสแนร์ก็จะอุดอู้เสียงไม่ออก คุณต้องปรับให้พอดีอยู่ระหว่างตรงกลางครับ

ลองดูเคล็ดลับในการตั้งเสียงสแนร์ตรงนี้ครับ
-เสียงสแนร์ที่แบน คุณต้องปรับ Snare Head ให้หย่อนที่สุดเท่าที่ทำได้ ขณะที่หนังด้านบนต้องค่อนข้างตึง
-สำหรับเสียงที่ดังเปรี้ยงปร้าง คุณต้องจูน Snare Headให้สูงกว่าหนังด้านล่าง 2-3 เสียง
-สำหรับเสียงResonant สูงๆ คุณต้องตั้งหนังด้านบนและSnare Head ให้มีระดับเสียงที่เกือบจะเท่ากัน
หรือจูนให้ Snare Head มีระดับเสียงที่สูงกว่าด้านบนเล็กน้อย

หลังจากคุณจูนสแนร์ได้เสียงที่เพอร์เฟคแล้ว ปัญหาต่อไปที่คุณจะเจอคือเสียงการสั่นสะเทือนของ สแนร์
หรือเสียงหึ่งที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียงที่มีระดับเสียงเดียวกับเสียงสแนร์ของคุณ อาจเป็นจากกลองใบอื่น
หรือเครื่องดนตรีชิ้นอื่นการแก้ปัญหาเสียงหึ่งมีหลายวิธีดังนี้
1.ตั้งเสียงสแนร์ใหม่ทั้งหมด(การแก้ด้วยวิธีนี้จะเกิดปัญหาที่ตามมากับกลองใบอื่นๆในชุดอีก)
2.คลายน๊อตที่ขันหนังให้หย่อนลงทั้งด้านบนและด้านล่าง
3.ใช้ ไพ่หรือกระดาษทิสชู ใส่เข้าไประหว่างหนังด้านล่างและเส้นสแนร์

ขณะที่ไกไลด์ทั่วไปสำหรับการจูนเสียงกลองสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทอมใบเล็กหรือใบใหญ่ แต่ยังมีประเด็นเฉพาะที่ต้องกล่าวถึงอีกดังนี้
1.สำหรับเสียงที่แบน คุณต้องปรับ หนังด้านล่างให้หย่อนกว่าหนังด้านบน
2.สำหรับเสียงResonant สูงๆ คุณต้องตั้งหนังด้านบนและด้านล่าง ให้มีระดับเสียงที่เกือบจะเท่ากัน
3.สำหรับเสียงที่เต็มๆ ดังควรใช้หนังด้านบนเป็นหนังน้ำมันสองชั้น(Hydraulic )
4.เพื่อให้เกิดเสียงที่ดังมากขึ้นสำหรับหนังด้านบนที่เป็นหนังน้ำมันสองชั้น(Hydraulic ) ควรใช้หนังชั้นเดียวอย่างบางเป็นหนังด้านล่าง
5.ในการลดเสียงOvertoneที่มากไปขณะที่ยังรักษาเสียงตีที่ดุดัน คุณต้องใช้หนังด้านบนเป็นหนังชั้นเดียวและใช้หนังด้านล่างแบบMuffled
6.สำหรับเสียงทอมที่เข้ม ขณะที่ยังคงให้เสียง Resonantต้องเปลี่ยนไปใช้หนังกลองประเภทสีดำทึบทั้งสองด้าน

"การจูน Bass Drum"
การเลือกใช้หนังกลองมีผลกระทบต่อเสียงที่เกิดขึ้นของกลอง ลองดูตารางข่างล่างนี้ครับเป็นรายละเอียดของเสียงBass Drum
ที่จะเกิดขึ้นแยกตามหนังประเภทต่างๆดังนี้
-เสียง Bass Drum เปิด มี Resonant สูง ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
เช่นเดียวกันกับหนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว และไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
-เสียง Bass Drumที่ดุดัน เปิด มีเสียงOvertoneเล็กน้อย ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง
ขณะที่หนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว ไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
-เสียง Bass Drumที่ดุดัน เป็นจุด ไม่กระจาย มีเสียงOvertone ที่คุมได้ ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง
เช่นเดียวกันกับหนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว และต้องมีการจูนที่หนัง
-เสียง Bass Drumที่ดุดัน มีเสียงOvertone ที่คุมได้ ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว
ต้องมีการจูนที่หนัง ขณะที่หนังด้านหน้าใช้เป็นหนัง 2 ชั้น
-เสียงกระแทกๆ เป็นจุด ไม่มีเสียงOvertone ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นหนัง 2 ชั้น หรือเป็นหนัง Hydraulic
ขณะที่หนังด้านหน้าใช้เป็นหนัง 2 ชั้น

นอกจากนี้ยังมีประเด็นเพิ่มเติม ในการจูนเสียง Bass Drumดังนี้
-ในการจูนให้เกิดระดับเสียงที่สูง ก็จะให้เสียงกลองที่กระแทกๆมากขึ้น
-สำหรับเสียงกระแทกที่มากยิ่งขึ้น จูนหนังด้านหน้าให้ตึงกว่าหนังด้านที่เหยียบ
-สำหรับเสียงกลองที่ใหญ่ๆ จูนหนังด้านหน้าให้หย่อนมากที่สุดแต่ไม่ถึงขนาดเป็นเสียงแฟล๊บๆ
-ถ้าจะลดเสียงOvertone ให้ใส่ ผ้าห่มหรือหมอนเข้าไปในกลอง หรือโดยการติดเทปสักหลาด ตรงกลางของหนังด้านที่เหยียบ
-การเจาะรูตรงหนังด้านหน้าเพื่อลดเสียงก้อง ต้องมั่นใจว่ารูดังกล่าวต้องไม่อยู่ตรงจุดกึ่งกลางและเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 8 นิ้ว
-การทำให้เกิดเสียง Resonant ที่มากขึ้นโดยการปรับเดือยที่ Bass Drum ให้กลองยกสูงจากพื้นมากที่สุด
จากที่กล่าวไปทั้งหมดเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด แต่การจูนเสียงกลองนั้นเป็นศิลปะมากกว่าวิทยาศาสตร์
ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำคือต้องลองจูนในส่วนผสมที่ต่างๆกัน จากนั้นเลือกส่วนผสมที่ให้เสียงที่ดีที่สุดสำหรับสไตล์เพลงของคุณ
หรือดีที่สุดในสถานะการณ์ขณะนั้น
เขียนโดย webdevils_fam

1 ความคิดเห็น:

PSC กล่าวว่า...

ได้ความรู้ดีมากครับ ขอบคณมากๆ

4 พฤษภาคม 2554 เวลา 07:52

Visit the Site
MARVEL and SPIDER-MAN: TM & 2007 Marvel Characters, Inc. Motion Picture © 2007 Columbia Pictures Industries, Inc. All Rights Reserved. 2007 Sony Pictures Digital Inc. All rights reserved. blogger template by blog forum